หลักการและวิสัยทัศน์
หลักการของสังคมอิเล็กทรอนิกส์
1.พัฒนาสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งภูมิปัญญา” (Knowledge Base Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ทำให้มีเหตุผล มีคุณธรรม และภูมิปัญญาที่ดีเกิดขึ้นในสังคมไทย
2.พัฒนาโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความสามารถจากเครือข่ายสารสนเทศ อินเตอร์เนต
3.พัฒนาโครงการอินเตอร์เนตตำบล ให้มีการขยายผล ให้มีข้อมูล และศูนย์บริการข่าวสาร ลงไปถึงระดับชุมชนและหมู่บ้าน
4.ดำเนินการควบคุม “เกมคอมพิวเตอร์” เพื่อให้เยาวชนมีการเล่นเกมที่เหมาะสมกับเวลา
5.สนับสนุนให้มีการจัดระดับของ Web site เพื่อป้องกันเยาวชนจากข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
วิสัยทัศน์ E-Society
วิสัยทัศน์ของการนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความชัดเจนในเป้าหมายมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์การพัฒนาหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบใหญ่ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมหลักในรายสาขา ดังนี้คือ e-Society เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ ต่อยอด ถ่ายทอด การใช้ประโยชน์จากข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างความเข้าใจอันดีของคนในสังคมทั้งในและนอกประเทศให้เห็นความสำคัญของความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในขณะที่มีการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคสังคมประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ เนื้อหา และความรู้ กลุ่มต่างๆในสังคม องค์กรต่างๆในสังคม อย่างไรก็ตามในการพัฒนาเทคโนโลยีภาคสังคมจำเป็นต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในขณะที่มีการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคสังคมประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ เนื้อหา และความรู้ กลุ่มต่างๆในสังคม องค์กรต่างๆในสังคม อย่างไรก็ตามในการพัฒนาเทคโนโลยีภาคสังคมจำเป็นต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
1. ลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของประชาชนกลุ่มต่างๆในสังคม
2. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและความรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
3. วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้ไปสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ อย่างยั่งยืน
การที่สังคมไทยจะไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคสังคมนั้น จำเป็นที่ผู้นำทั้งระดับชุมชน และระดับชาติ ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับล่างต้องมีวิสัยทัศน์ เห็นความสำคัญและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเพิ่มความสามารถของสถาบันความรู้ให้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่เอื้ออาทรแก่กัน