ความหมาย

สังคมอิเล็กทรอนิกส์
ความหมายสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) คือ การส่งเสริมสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (k-Society) และเป็นการเรียนรู้ผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เป็นนโยบายที่จัดทำขึ้นมา เพื่อที่จะลดปัญหาช่องว่างทางดิจิตอล (Digital divide) ภายใต้โครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ให้มีความทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ สำหรับโครงการที่ดำเนินการไปแล้วนั้น อาทิ โครงการอินเตอร์เนตตำบลเป็นต้น สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย 5e ตามแผนแม่บททางเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย พ.ศ.2545-2546 เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือบริหารจัดการงานที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1. e - Government รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 2. e - Citizen ประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ 3. e - Society สังคมอิเล็กทรอนิกส์ 4. e - Education การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ 5. e - Industry อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หลักการของสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e - society) * พัฒนาสังคมไทยให้เป็น สังคมแห่งภูมิปัญญา” (Knowledge Base Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้มีเหตุผล มีคุณธรรม และภูมิปัญญาที่ดีเกิดขึ้นในสังคมไทย * พัฒนาโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความสามารถจากเครือข่ายสารสนเทศ อินเตอร์เนต * พัฒนาโครงการอินเตอร์เนตตำบล ให้มีการขยายผล ให้มีข้อมูล และศูนย์บริการข่าวสาร ลงไปถึงระดับชุมชนและ หมู่บ้าน * ดำเนินการควบคุม เกมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เยาวชนมีการเล่นเกมที่เหมาะสมกับเวลา * สนับสนุนให้มีการจัดระดับของ Web site เพื่อป้องกันเยาวชนจากข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ความสอดคล้องระหว่าง (e - Society) กับ (e - Government) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e - Government) เป็นกระบวนการปฏิรูประบบบริหาร บริการ และกระบวนการของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพ และมีธรรมมาภิบาล โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ในการนี้ประชาชนจะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา ทั่วถึงและเป็นธรรม และยังเป็นการกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนศักยภาพของประเทศเพื่อเป็นทางลัดในการเข้าสู่การแข่งขันให้เท่าทันกับนานาประเทศ ซึ่งหากรัฐบาลของประเทศใดขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศได้ช้าก็ยิ่งเสียโอกาสในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน การค้าขาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ ก็เท่ากับทำให้ประชาชนของประเทศนั้นเสียโอกาสอีกทางหนึ่ง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หากสามารถทำให้เกิดผล ปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ ก็จะสามารถเอื้อให้ยุทธศาสตร์อื่น ๆ ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สังคมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะที่ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนในการที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากทาง ราชการ โดยประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้นในชุมชน ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา e - Government ให้ประสบความสำเร็จ ความพร้อมของผู้นำ ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของทางภาครัฐ ความพร้อมของประชาชน แนวทางในการดำเนินงานของสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e - Society) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มอบภารกิจทางด้านสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e - Society) ให้อยู่ในความรับผิดชอบ ของ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เพื่อเป็นแกนหลักในการที่จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แนวทางการดำเนินงาน *โครงการอินเตอร์เนตตำบล เพื่อสนับสนุน โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ให้มีการประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนและท้องถิ่นสู่ตลาด เผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก ด้วยระบบครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นต่อไป การดำเนินงานที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมในขณะนี้ เช่น การจัดทำ Web site ไทยตำบลขึ้น (www.thaitambon.com) เพื่อให้ข้อมูลที่น่าสนใจของตำบลต่าง ๆ ในเมืองไทย ข้อมูลที่สำคัญประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการคมนาคมไปยังตำบล ข้อมูลรายชื่อผู้บริหารท้องถิ่น ข้อมูลกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ สินค้าโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจ SME ข้อมูลเกษตร สถานที่ท่องเทียว โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร http://www.thaitambon.com/ เป็นการสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลของตำบลในอินเตอร์เนต เพื่อพัฒนาตำบลให้เจริญและแข็งแร่งยิ่งขึ้น โดยผู้แทนของตำบล (อบต. พัฒนาการชุมชน เกษตรอำเภอ) สามารถจัดทำและปรับปรุงข้อมูลโดยตรง * การจัดระเบียบเกมออนไลน์ มาตรการที่ทางกระทรวงไอซีทีนำมาใช้ในการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์

Leave a Reply