กลยุทธ์การพัฒนาและเป้าหมาย

กลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)
                                ในการก้าวเข้าสู่โลกยุคสารสนเทศและเศรษฐกิจใหม่ (new economy)  สังคมไทยเผชิญทั้งโอกาสที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และภัยคุกคามอันเนื่องมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (digital divide) ทั้งความเหลื่อมล้ำในระดับนานาชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดการลดน้อยถอยลงของขีด  ความสามารถในการแข่งขันเวทีโลก และความเหลื่อมล้ำภายในสังคมไทย ซึ่งจะทำให้เกิด    การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมและปัญหาทางสังคม ถ้าปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งสองไม่ได้รับ  การแก้ไขที่ดี ก็จะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำและความเสื่อมถอยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตและบั่นทอนศักยภาพในการพัฒนาสังคมไทยในระยะยาว
วิสัยทัศน์
                คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้            อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีสติปัญญา และความสามารถในการพัฒนาต่อยอด และประยุกต์ความรู้       เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีความเอื้ออาทรและการแบ่งปัน
เป้าหมาย
                 ในปี พ.. 2533 ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ และด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม รวมถึง        เร่งพัฒนาสื่อและเนื้อหา (content) ที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยกำหนดให้มีสื่อและเนื้อหาที่ผลิตโดยชุมชนและท้องถิ่น (local content) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของสื่อและเนื้อหาทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศมีการรวบรวม ประมวล และจัดตั้งเครือข่ายเวทีความคิดของนักคิดอาวุโสปราชญ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้และภูมิปัญญาสากลของมนุษยชาติรวมถึง  มีการวิจัยต่อยอดและบูรณาการแนวคิดและองค์ความรู้ไทยที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้กับหลักวิชาการสมัยใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรมทางความคิดและปัญญาภายในปี พ.. 2553 มีหมู่บ้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของหมู่บ้านไทย พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาเศรษฐกิจเข้มแข็ง ไม่มีภาระหนี้สิน เด็ก และเยาวชนทุกคนในหมู่บ้าน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีระบบสาธารณสุขที่ดี ไม่มีปัญหาด้านการโจรกรรมและผู้สูงอายุได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแก่ฐานะ
นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคสังคม
1.การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงสารสนเทศและการเรียนรู้โดยรัฐบาลจะต้องมีนโยบายสนับสนุนที่เป็นองค์รวม พิจารณาครอบคลุมทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงเท่าเทียม การให้บริการที่มีคุณภาพ และด้วยราคาที่เหมาะสม การพัฒนา         เนื้อหาและสารสนเทศที่เหมาะสมกับชุมชนและท้องถิ่น รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมและการให้     ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ
2.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนให้มีการใช้               เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนและสังคม โดยมีสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงหน่วยงานระหว่างประเทศให้การสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนา ประยุกต์และต่อยอดเนื้อหาความรู้ และสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้โดยให้มีการสร้าง พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมให้มี การบูรณาการกับความรู้สากล ให้สังคมไทยรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ สร้างฐานการพัฒนาสังคมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ          เท่าเทียม เร่งปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรี เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ติดตามและดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
                ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาและฝึกอบรมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และ        สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันความรู้ให้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม สนับสนุนให้หน่วยงานที่ผลิตและเป็นเจ้าของข้อมูลสารสนเทศ และความรู้เร่งผลิตและเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สนับสนุนให้เกิดการสร้างสังคม       สารสนเทศที่ประชาชนสามารถเข้าดู สืบค้น และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและความรู้พื้นฐาน      ทั่วไปได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับ ชุมชนในการสร้าง ต่อยอด ถ่ายทอด และบูรณาการความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาชุมชนและสังคมที่มีความสมดุลย์
                ยุทธศาสตร์ที่ 4  : การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ สร้างขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยให้ความสำคัญกับสารสนเทศและความรู้มากกว่าการมีเทคโนโลยีสมัยใหม่สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศชุมชนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม รวมไปถึง  การเร่งสนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาที่ไม่ใช่รัฐเร่งผลิตและให้บริการสารสนเทศและความรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม นอกจากนั้นจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนา เพื่อหาทางลดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของสังคมไทย
                ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม สร้างความรู้ทั้งจากบนลงล่าง (หรือ      การประยุกต์ความรู้สมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของท้องถิ่น) และจากล่างขึ้นบน        (การถ่ายทอดภูมิปัญญาและวิถีชีวิตที่ดีงามสู่สังคมภายนอก) สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายชุมชนในการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม มีความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชนต่างๆ สร้างเครือข่ายภูมิปัญญาไทยโดยปราชญ์อาวุโส และบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคม    เพื่อสนับสนุนการสร้างความรู้ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความเป็นสากลเกิดกระแสทางเลือกของการพัฒนา ที่มุ่งให้สังคมโลกได้ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์และการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
                ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่เอื้ออาทร สนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเกื้อกูล มีความเอื้ออาทรระหว่างกลุ่มสังคมต่างๆ ของประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเว็บไซต์สำหรับผู้ด้อยโอกาส สังคมชนบท คนพิการ เด็กเร่ร่อน และชุมชนและกลุ่มวัฒนธรรม (เช่น ชุมชนภูเขา) เผยแพร่ข้อมูล และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสังคมวงกว้าง รวมถึงการแลกเปลี่ยนทัศนคติและกระบวนทัศน์ในการมองโลกและ การดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความเอื้ออาทรให้เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนั้น      ต้องส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหามาตรการและแนวทางใน        การควบคุมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวเพื่อปกป้อง  เยาวชนของชาติจากสื่อที่ไม่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อละเมิดสิทธิของผู้อื่น        และการกระทำที่ผิดศีลธรรม
                ทั้งนี้ในการบริหารสู่ความสำเร็จ ต้องประกอบด้วยการมีเอกภาพเชิงนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ ที่เน้นปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น  การมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำทั้งในระดับชาติและชุมชน การสร้างระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มี        การเลือกใช้บูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลสัมฤทธิและการดำเนินการสู่เป้าการเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (E-Society)
            ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในยุคสารสนเทศ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และการเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
:
1.
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม    - เร่งการปฏิรูปกิจการโทรนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรี เป็นธรรม
    - จัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
   
- ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 ว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
    -
สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ2.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    - พัฒนาและฝึกอบรมประชาชนให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    - สร้างความตื่นตัวและตระหนักให้กับสังคมถึงโอกาสและภัยคุกคามของสังคมยุค
สารสนเทศ
    -
สนับสนุนให้เกิดหลักสูตรการเรียนรู้และการให้บริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต3.เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันความรู้ให้สนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม
    - ให้หน่วยงานที่มีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ผลิตและเผยแพร่สู่สาธารณะ
    - สร้างขีดความสามารถขององค์กรภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ สนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม
4.
สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
    - มีการใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม เป็นเครื่องมือของการสาระสู่ประชาชนได้
    - จัดตั้งศูนย์สารสนเทศและการเรียนรู้ที่ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ได้
   
- ให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อล้ำทางดิจิทัล (digital divide)5.สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
    - สนับสนุนการสร้างความรู้ ถ่ายทอดความรู้และใช้ความรู้ของชุมชน
    - สร้างเครือข่ายชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ เพื่อสร้างชุมชน
เข้มแข็ง
    -
ให้เครือข่ายภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญไทยอย่างเป็นระบบ6.พัฒนาคุณภาพชีวิต
    - ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    -
ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ชุมชน (e-Community Commerce) เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง และสนับสนุนนโยบายหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์
   
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินทางด้านการเกษตรที่มีคุณภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพการผลิต และการลดต้นทุนการผลิต ข้อมูลการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ข้อมูลด้านการตลาด
    - พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประกันคุณภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ให้ความรู้สาธารณสุขมูลฐานและการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีให้กับประชาชน
7.
สร้างสังคมที่เอื้ออาทร
    - ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนในชนบท
    - ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มสังคม ต่าง ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนโลกทัศน์ และสร้างความเข้าใจที่ดีซึ่งกันและกัน
    - ระดมสรรพกำลังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จากการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ประพฤติผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม
    - สร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวเพื่อการพัฒนาเยาวชนที่มีคุณภาพ

ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของกลยุทธ์รายสาขาทั้ง 5 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือการมีอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) ที่เข้มแข็ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายในประเทศให้มีขีดความสามารถมากขึ้น และพร้อมที่จะรองรับอุปสงค์ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ และการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อการพัฒนา

Leave a Reply